เมนู

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 9. อุปนิสสยปัจจัย


[1696] 1. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐ-
สังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย1 ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย2 เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย3
ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย4 ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย5

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลอาศัยราคะ ย่อมฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์, อาศัยโทสะ ย่อมฆ่า
สัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์, ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ
แก่ความปรารถนาด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1697] 2. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้วให้ทาน
สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌาน วิปัสสนา อภิญญา สมาบัติ ให้เกิด
อาศัยความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด.
1. มี 7 วาระ, 2. มี 9 วาระ 3. มี 3 วาระ 4. มี 13 วาระ 5. มี 8 วาระ (ดูข้อ 1748
ข้างหน้า)

ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ความสุขทางกาย
แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
บุกคลฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมให้ทานสมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌาน
วิปัสสนา อภิญญา และสมาบัติให้เกิด เพื่อลบล้างบาปกรรมนั้น ฯลฯ บุคคล
ทำลายสงฆ์แล้ว ย่อมให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม เพื่อต้องการลบล้าง
บาปกรรมนั้น.
อกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1698] 3. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยราคะแล้ว ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ, อาศัยโทสะ
ฯลฯ ความปรารถนา ยังมรรคให้เกิด เข้าผลสมาบัติ.
2. ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1699] 4. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ยังสมาบัติให้เกิด อาศัยศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ ย่อมให้
ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด.

2. ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา สุขทางกา ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
3. กุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. บริกรรมแห่งปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ อากิญจัญ-
ญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ
[1700] 5. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ, อาศัยศีล ฯลฯ
เสนาสนะ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
2. ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนาด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1301] 6. อสังกิเลฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกรรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ ทุติยมรรค
ฯลฯ ตติยมรรค ฯลฯ จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[1702] 7. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค
2. ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค
3. ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค
4. มรรค1 เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1703] 8. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. พระอริยบุคคล อาศัยมรรค ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิด เข้า
สมาบัติที่เกิดแล้ว พิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา.
2. มรรคเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความฉลาดในฐานะและอฐานะของพระอริยเจ้า
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
3. ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย.
1. บาลีเป็น จตุตฺโถ มคฺโค, คำว่า จตุตฺโถ เกินมา ในทีนี้จึงแปลเฉพาะค่าว่า มคฺโค.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[1704] 1. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
1. บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
2. เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
3. ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
4. รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
1. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
[1705] 2. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย